YoU NeVER kNoW ..... what you can do ???
UnTiLL you TrY !!

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพ STOP ACTION

            

      ภาพเคลื่อนไหวเป็นภาพอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความสนุกของการถ่ายภาพประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกชัตเตอร์ในช่วงเวลาที่ เหมาะสม ภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวได้แก่ ภาพรถวิ่ง ภาพการเล่นกีฬา ภาพพิธีการต่างๆ และภาพสัตว์กำลังเคลื่อนไหว

หลักการถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop action)
การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูงกว่าความเร็วของวัตถุที่ เคลื่อนที่เช่น 1/125, 1/500, หรือ 1/1000 วินาที เมื่อความเร็วสูง จำเป็นต้องเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยแสงผ่านไปยังฟิล์มให้มากพอกับชัตเตอร์ที่เปิดปิดเร็
การถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 อย่าง ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขการเลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์ คือ
                1. ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวเร็ว ช้า
                2. ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ ทิศทางขนานกับกล้อง แนวเฉียงกับกล้อง เคลื่อนที่เข้าหากล้อง
                3. ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ ระยะใกล้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ระยะไกลใช้ความเร็วปกติ
                4. ความยาวโฟกัสเลนส์ที่ถ่ายภาพ เลนส์มุมกว้างจะให้ความชัดลึกมากกว่าเลนส์มาตรบานและเลนส์ดึงภาพระยะไกล (telephoto lens)

ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ระหว่างระยะทาง กับทิศทางของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุ/คน/สัตว์
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระยะของการถ่ายภาพ
วัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว
1/30
ทุกระยะ
คนหรือสัตว์ที่กำลังเดิน การเล่นของเด็กๆ
แนวขนาน 1/60
แนวเฉียง 1/125
แนวเข้าหากล้อง 1/125
ระยะ 7.5 เมตร
คนหรือสัตว์ที่กำลังวิ่งความเร็วประมาณ 30ไมล์/ชั่วโมง
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/250
ระยะ 15 เมตร
การเล่นบาสเกตบอล ฟุตบอล และว่ายน้ำ
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/500
7.5 เมตร
รถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน ด้วยความเร็วสูง
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/500
30 เมตร

ช้อควรคำนึงในการถ่ายภาพ STOP ACTION
1. เตรียมตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ล่วงหน้า (การถ่ายภาพ Stop Action ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ 1/125, 1/500, หรือ 1/1000 วินาที ขึ้นไป)
2. การปรับหาความชัดในการถ่ายภาพให้พร้อม เช่น การถ่ายภาพกีฬา เราจะต้องตั้งไว้ล่วงหน้า การกดชัตเตอรืต้องกดในจังหวะที่เหมาะสม
3. การตั้งหน้ากล้องนิยมตามสภาพแสง
4. ระยะของวัตถุกับกล้องถ่ายภาพประมาณตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป
5. ความสว่างในการถ่ายภาพ ถ้มีแสงสว่างมากพอ จะช่วยให้สามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น และสามารถปรับ f stop ให้ได้ตัวเลขสูงขึ้น เพื่อที่ช่วงระยะชัดจะได้กว้างขึ้น
6. การเลือกฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพ ควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง
7. มุมการถ่ายภาพ เป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ได้ภาพที่ดีที่สุด เช่น การถ่ายภาพม้าแข่ง จักรยานยนต์แข่ง มักนิยมถ่ายบริเวณมุมเลี้ยว
8. เลือกถ่ายภาพหลายระยะ การถ่ายภาพสิ่งเคลื่อนไหวบางครั้งการถ่ายเพียงภาพเดียงไม่สามารถสื่อความ หมายได้ครบถ้วน จำเป็นต้องมีการถ่ายภาพ 3 ระยะคือ ไกล ปานกลาง ใกล้
9. ความรวดเร็วในการกดชัตเตอร์ในจังหวะที่เหมาะสม หากถ่ายภาพผิดจังหวะนี้แล้ว ภาพจะหมดคุณค่า หรือความหมายผิดไป









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น