YoU NeVER kNoW ..... what you can do ???
UnTiLL you TrY !!

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพ STOP ACTION

            

      ภาพเคลื่อนไหวเป็นภาพอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความสนุกของการถ่ายภาพประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกชัตเตอร์ในช่วงเวลาที่ เหมาะสม ภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวได้แก่ ภาพรถวิ่ง ภาพการเล่นกีฬา ภาพพิธีการต่างๆ และภาพสัตว์กำลังเคลื่อนไหว

หลักการถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop action)
การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูงกว่าความเร็วของวัตถุที่ เคลื่อนที่เช่น 1/125, 1/500, หรือ 1/1000 วินาที เมื่อความเร็วสูง จำเป็นต้องเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยแสงผ่านไปยังฟิล์มให้มากพอกับชัตเตอร์ที่เปิดปิดเร็
การถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 อย่าง ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขการเลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์ คือ
                1. ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวเร็ว ช้า
                2. ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ ทิศทางขนานกับกล้อง แนวเฉียงกับกล้อง เคลื่อนที่เข้าหากล้อง
                3. ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ ระยะใกล้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ระยะไกลใช้ความเร็วปกติ
                4. ความยาวโฟกัสเลนส์ที่ถ่ายภาพ เลนส์มุมกว้างจะให้ความชัดลึกมากกว่าเลนส์มาตรบานและเลนส์ดึงภาพระยะไกล (telephoto lens)

ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ระหว่างระยะทาง กับทิศทางของวัตถุ
การเคลื่อนที่ของวัตถุ/คน/สัตว์
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ระยะของการถ่ายภาพ
วัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว
1/30
ทุกระยะ
คนหรือสัตว์ที่กำลังเดิน การเล่นของเด็กๆ
แนวขนาน 1/60
แนวเฉียง 1/125
แนวเข้าหากล้อง 1/125
ระยะ 7.5 เมตร
คนหรือสัตว์ที่กำลังวิ่งความเร็วประมาณ 30ไมล์/ชั่วโมง
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/250
ระยะ 15 เมตร
การเล่นบาสเกตบอล ฟุตบอล และว่ายน้ำ
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/500
7.5 เมตร
รถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน ด้วยความเร็วสูง
แนวขนาน 1/125
แนวเฉียง 1/250
แนวเข้าหากล้อง1/500
30 เมตร

ช้อควรคำนึงในการถ่ายภาพ STOP ACTION
1. เตรียมตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ล่วงหน้า (การถ่ายภาพ Stop Action ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ 1/125, 1/500, หรือ 1/1000 วินาที ขึ้นไป)
2. การปรับหาความชัดในการถ่ายภาพให้พร้อม เช่น การถ่ายภาพกีฬา เราจะต้องตั้งไว้ล่วงหน้า การกดชัตเตอรืต้องกดในจังหวะที่เหมาะสม
3. การตั้งหน้ากล้องนิยมตามสภาพแสง
4. ระยะของวัตถุกับกล้องถ่ายภาพประมาณตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป
5. ความสว่างในการถ่ายภาพ ถ้มีแสงสว่างมากพอ จะช่วยให้สามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น และสามารถปรับ f stop ให้ได้ตัวเลขสูงขึ้น เพื่อที่ช่วงระยะชัดจะได้กว้างขึ้น
6. การเลือกฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพ ควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง
7. มุมการถ่ายภาพ เป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ได้ภาพที่ดีที่สุด เช่น การถ่ายภาพม้าแข่ง จักรยานยนต์แข่ง มักนิยมถ่ายบริเวณมุมเลี้ยว
8. เลือกถ่ายภาพหลายระยะ การถ่ายภาพสิ่งเคลื่อนไหวบางครั้งการถ่ายเพียงภาพเดียงไม่สามารถสื่อความ หมายได้ครบถ้วน จำเป็นต้องมีการถ่ายภาพ 3 ระยะคือ ไกล ปานกลาง ใกล้
9. ความรวดเร็วในการกดชัตเตอร์ในจังหวะที่เหมาะสม หากถ่ายภาพผิดจังหวะนี้แล้ว ภาพจะหมดคุณค่า หรือความหมายผิดไป









เทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสงเงาดำ

การถ่ายภาพย้อนแสงเงาดำ (Sillhouette) 

 

        เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ใช้สร้างสรรค์ภาพได้อย่างน่าสนใจ จุดเด่นของภาพแบบนี้ คือ เราจะเห็นรูปร่างภายนอกของวัตถุที่บังแสงอยู่ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ภาพจะให้ความรู้สึกที่แปลกตาน่าสนใจไปอีกแบบหนึ่ง




เทคนิคการถ่ายย้อนแสงเงาดำ (Sillhouette)


หาทิวทัศน์ช่วงเวลาเย็นดวงอาทิตย์ใกล้ตก จัดเฟรมของภาพให้น่าสนใจ  โดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และใหมีวัตถุบังแสงเป็น Foreground เน้นสิ่งที่มีโครงสร้างภายนอกชัดเจน เช่น ต้นมะพร้าว โขดหิน คน เรือ เป็นต้น  ทำการวัดแสงบริเวณที่สว่างบนท้องฟ้า แต่ไม่วัดแสงที่ดวงอาทิตย์โดยตรง

ใช้ขาตั้งกล้อง เนื่องจากต้องใช้ Speed Shutter ต่ำ ใช้ F/STOP ลงไปเพื่อให้ได้ความชัดลึก



ภาพที่ได้จะสวยหรือไม่ อยู่ที่สภาพโทนสี

ของแสงบนท้องฟ้า ตำแหน่งของดวงอาทิตย์

และรูปร่าง หรือ shape ของแบบที่ใช้เป็น Foreground


วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพที่น่าสนใจ !

วันนี้นำเทคนิคการถ่ายภาพที่เจ้าของบล็อคสนใจมาฝาก ไว้ลองทำกันดูนะคะ ^_______________^

การถ่ายภาพแบบ   Zoom burst  "ระเบิดซูม"

การถ่ายภาพแบบ "ระเบิดซูม" ซึ่งเป็นวิธีเน้นวัตถุตัวแบบให้โดเด่นด้วยลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างในภาพพุ่งรวมศูนย์เข้าหาวัตถุกลางภาพด้วยความเร็วสูง

วิธีการบันทึกภาพแบบนี้ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความยากและความง่าย โดยตัวอุปกรณ์เองแล้วไม่มีวิธีอะไรซับซ้อนมากนัก แต่ความยากอยู่ที่ความนิ่งของมือผู้ถ่ายภาพเป็นสำคัญ แต่ถ้าฝึกจนกระทั่งชำนาญแล้ว ก็จะแทบสั่งได้ในทุกสถานการณ์เลยทีเดียว

อุปกรณ์บันทึกภาพเทคนิคระเบิดซูม
-  เลนส์ซูมในช่วงต่างๆ
-  ขาตั้งกล้อง

ที่สำคัญที่สุดก็คือเลนส์ซูม เพราะเป็นการใช้คุณสมบัติในการเปลี่ยนระยะของเลนส์ชนิดนี้โดยตรง ส่วนเลนส์ฟิกซ์หรือเลนส์ที่มีระยะตายตัวจะไม่สามารถใช้เทคนิคนี้ได้

ช่วงซูมที่สามารถสร้างความตื่นตาให้กับภาพได้มากก็คือช่วงซูมเทเลโฟโต้ แต่ก็จะเป็นช่วงซูมที่ถ่ายภาพค่อนข้างยากเนื่องจากอาจเกิดการสั่นไหวอันจะทำให้ภาพเกิดอาการเบลอได้ง่าย



วิธีการถ่ายภาพ
เลือกใช้สปีดชัตเตอร์ช้าถึงปานกลางเช่น 1/80, 1/40 sec. หรือต่ำลงไปเรื่อยๆ โดยใช้ขาตั้งกล้องช่วยจับกล้องให้นิ่ง จับโฟกัสไปที่วัตถุตัวแบบแล้วปรับมาเป็นระบบ Manual focus เพื่อล็อคโฟกัสให้อยู่กับที่ ตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO ให้มีค่าแสงที่พอดี(สัมพันธ์กับค่าสปีดชัตเตอร์) จากนั้นก็กดถ่ายภาพ ในขณะทีี่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงอยู่นั้นก็ให้หมุนวงแหวนปรับซูมเปลี่ยนระยะด้วยความรวดเร็วก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิด หากกล้องและเลนส์ไม่มีการสั่นไหว วัตถุกลางภาพจะคมชัดสวยงามในขณะที่วัตถุอื่นรอบด้านจะเบลอเป็นเส้นพุ่งเข้าหาส่วนกลาง 

ในขณะที่ถ่ายภาพแบบนี้มักจะเกิดอาการภาพสั่นอยู่เสมอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากลักษณะการบิดหมุนวงแหวนซูม นั่นคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพระเบิดซูม

TIPS & TECHNIQUES- ใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการตรึงกล้องให้อยู่กับที่จะทำให้ภาพลดอาการสั่นไหวลงได้มาก
- เลือกใช้เลนส์ซูมที่มีช่วงห่างกันไม่เกินสามเท่า (3X) เช่น 24-70mm (24x3 = 72), 70-200mm (70x3=210) จะช่วยให้ภาพไม่สั่นไหวมากนัก เลนส์ซูมที่มีช่วงซูมมากกว่านี้มีโอกาสที่ภาพจะสั่นไหวสูงมาก เนื่องจากผู้ถ่ายภาพมักจะหมุนแหวนซูมด้วยความเร็วและแรงเพื่อให้ทันกับการปิดตัวของชัตเตอร์ ซึ่งจะเกิดแรงกระทบกระเทือนได้มาก
- ยิ่งวัตถุรอบข้างมีมากจะยิ่งช่วยสร้างความตื่นตาของเส้นพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางได้มาก ในทางตรงกันข้ามหากมีวัตถุรอบข้างไม่มากนัก ก็จะปรากฏเส้นซูมน้อยดูไม่ค่อยตื่นตาเท่าที่ควร
- วัตถุตัวแบบที่อยู่นิ่งกับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวจะทำให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น
- หากถ่ายภาพด้วยมือเปล่าไม่ควรเปิดใช้ระบบ Live View เพราะจะทำให้เกิดการสั่นของกล้องได้มากขึ้นการแนบกล้องเข้ากับใบหน้าจะทำให้การสั่นของกล้องลดลง (หากไม่ใช้ขาตั้งกล้อง)
- การนั่งหรือพิงตัวเข้ากับกำแพงหรือต้นไม้จะช่วยลดอาการสั่นไหวได้มากกว่าการยืน
- สปีดชัตเตอร์ยิ่งต่ำจะยิ่งเห็นผลของเส้นที่วิ่งเข้าหาศูนย์กลางมากขึ้น อย่ารีรอที่จะลองใช้มากกว่า 1 วินาที

เทคนิคการถ่ายภาพแบบระเบิดซูมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาพถ่ายได้หลายแบบ ความสำคัญของมันก็คือการเน้นตัวแบบวัตถุกลางภาพให้สายตาผู้ชมเพ่งเข้าไปยังจุดนั้นโดยตรง ลักษณะภาพเช่นนี้ อาจนำไปใช้กับสิ่งที่เราต้องการเน้นเป็นพิเศษเช่นโลโก้, สินค้า, กิริยาของตัวแบบ ฯลฯ ผลพิเศษของมันจะยิ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ดูภาพได้มาก และเป็นการง่ายที่จะสร้างความจดจำ เพราะไม่มีสิ่งอื่นมาดึงความสนใจให้เบี่ยงเบนออกไป